สายพานลำเลียง (Conveyor Belt System) คือ ระบบลำเลียงเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์หรือลำเลียงกระสอบจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้สายพานลำเลียง (Belt) และมอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อนสายพานลำเลียงกระสอบ หลังจากผ่านกระบวนต่าง ๆ ของทางโรงงานเรียบร้อยแล้วและต้องการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปที่ต้องการ ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ระบบสายพานลำเลียงกระสอบ หลัก ๆ แบ่งได้อยู่ 3 ประเภท
สายพานลำเลียงกระสอบแบบยาง (Pvc Belt)
สายพานลำเลียงแบบยาง (Pvc Belt)
สายพานลำเลียงกระสอบแบบยาง (Pvc Belt Conveyor System) สำหรับลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่น้ำหนักไม่มาก สามารถทนความร้อนได้สูง เนื่องจากเป็นเนื้อสายพานที่มีราคาไม่สูงทำให้นิยมนำมาใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร (Food Grade) เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาดเป็นส่วนมาก ตัวเนื้อสายพานผลิตจากยางหน้าเรียบนำมาต่อกับเป็นเส้นโดยใช้ระบบแบบการต่อฟันปลา
2. สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat Conveyor)
สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat)
สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat Conveyor System) สำหรับลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมาก เช่น กระสอบข้าวสาร กระสอบปุ๋ย เป็นต้น เนื่องจากใช้ไม้ที่มีขนาดใหญ่ ทนทานและหนาทำให้สามารถรอบรับน้ำหนักได้มากถึง 300 กิโลกรัม การทำงานของสายพานลำเลียงคือใช้มอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อน โดยใช้โซ่ขับ สามารถปรับความเร็วรอบของสายพานสามารถตามขนาดที่ลูกค้าต้องการได้
3. สายพานลำเลียงแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor)
สายพานลำเลียงกระสอบแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor)
สายพานลำเลียงกระสอบแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor System) สำหรับใช้ลำเลียงสิ่งของได้หลายอย่าง โดยส่วนมากจะนำไปลำเลียงผลิภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากเพราะสายพานลำเลียงแบบยางดำนั้นมีความทนทานต่อการเสียหายได้เป็นอย่างดี สามารถออกแบบระบบสายพานลำเลียงและระบบไฟฟ้าคอนโทรลคอบคุมสายพานลำเลียงได้อีกด้วย
❖ รถ AGV คืออะไร รถ AGV (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียกกันว่า รถขนส่ง อัตโนมัติ มีระบบควบคุมเส้นทาง และเส้นทางการขับเคลื่อนด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อให้รถ
AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ ด้วยการประมวลผลควบคุมการทำงาน โดยไมโครคอนโทรลเลอร์
❖ มูลเหตุจูงใจ
1. เพื่อลดการเข้า-ออกของพนักงานขับรถขนส่ง
2. เพื่อลดความล่าช้าจากการขนส่ง Part เนื่องจากการจราจรที่ติดขัด
3. เพื่อลดความความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานขนส่ง
4. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถขนส่งที่มีจำนวนมาก
❖ แนวคิดในการทำ Kaizen
ได้นำแนวคิดจากรถไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำหนด และสามารถหยุด
เมื่อเราต้องการให้หยุด หรือเมื่อถึงสถานีแบบอัตโนมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น