วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2562

Home work บทที่8

ระบบคลังสินค้า ,AS/RS

Home work บทที่ 7

สายพานลำเลียง (Conveyor Belt System) คือ ระบบลำเลียงเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์หรือลำเลียงกระสอบจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้สายพานลำเลียง (Belt) และมอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อนสายพานลำเลียงกระสอบ หลังจากผ่านกระบวนต่าง ๆ ของทางโรงงานเรียบร้อยแล้วและต้องการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปที่ต้องการ ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ระบบสายพานลำเลียงกระสอบ หลัก ๆ แบ่งได้อยู่ 3 ประเภท

สายพานลำเลียงกระสอบแบบยาง (Pvc Belt)

สายพานลำเลียงแบบยาง (Pvc Belt)
สายพานลำเลียงกระสอบแบบยาง (Pvc Belt Conveyor System) สำหรับลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่น้ำหนักไม่มาก สามารถทนความร้อนได้สูง เนื่องจากเป็นเนื้อสายพานที่มีราคาไม่สูงทำให้นิยมนำมาใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร (Food Grade) เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาดเป็นส่วนมาก ตัวเนื้อสายพานผลิตจากยางหน้าเรียบนำมาต่อกับเป็นเส้นโดยใช้ระบบแบบการต่อฟันปลา

2. สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat Conveyor)

สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat)
สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat Conveyor System) สำหรับลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมาก เช่น กระสอบข้าวสาร กระสอบปุ๋ย เป็นต้น เนื่องจากใช้ไม้ที่มีขนาดใหญ่ ทนทานและหนาทำให้สามารถรอบรับน้ำหนักได้มากถึง 300 กิโลกรัม การทำงานของสายพานลำเลียงคือใช้มอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อน โดยใช้โซ่ขับ สามารถปรับความเร็วรอบของสายพานสามารถตามขนาดที่ลูกค้าต้องการได้

3. สายพานลำเลียงแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor)

สายพานลำเลียงกระสอบแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor)
สายพานลำเลียงกระสอบแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor System) สำหรับใช้ลำเลียงสิ่งของได้หลายอย่าง โดยส่วนมากจะนำไปลำเลียงผลิภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากเพราะสายพานลำเลียงแบบยางดำนั้นมีความทนทานต่อการเสียหายได้เป็นอย่างดี สามารถออกแบบระบบสายพานลำเลียงและระบบไฟฟ้าคอนโทรลคอบคุมสายพานลำเลียงได้อีกด้วย

❖ รถ AGV คืออะไร รถ AGV (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียกกันว่า รถขนส่ง อัตโนมัติ มีระบบควบคุมเส้นทาง และเส้นทางการขับเคลื่อนด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อให้รถ 
AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ ด้วยการประมวลผลควบคุมการทำงาน โดยไมโครคอนโทรลเลอร์ 
❖ มูลเหตุจูงใจ
1. เพื่อลดการเข้า-ออกของพนักงานขับรถขนส่ง
2. เพื่อลดความล่าช้าจากการขนส่ง Part เนื่องจากการจราจรที่ติดขัด
3. เพื่อลดความความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานขนส่ง
4. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถขนส่งที่มีจำนวนมาก
❖ แนวคิดในการทำ Kaizen
ได้นำแนวคิดจากรถไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำหนด และสามารถหยุด
เมื่อเราต้องการให้หยุด หรือเมื่อถึงสถานีแบบอัตโนมัติ

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 03, 2562

Home work บทที่5


CNC ย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึง การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบอิเลคทรอนิกส์ จะทำการประมวลผล และ สั่งการเพื่อให้เครื่องจักรทำงาน หรือ เกิดการเคลื่อนที่จากชุดคำสั่งต่าง ๆ หรือ กระทำตามเงื่อนใขที่ถูกกำหนด

ความหมายของ DNCDistribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.x